watch sexy videos at nza-vids!
Blog ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริการ , ด้านการแพทย์,สุขภาพ , การศึกษา , งานเวชระเบียน , สิทธิการรักษา


แนวทางการเลี้ยงดูที่เหมาะสม

เตรียมความพร้อมให้ลูกรักเพื่อเข้าโรงเรียนอนุบาล
เด็กวัย 3- 6 ปี มีพัฒนาการที่สำคัญหลายด้าน ที่พ่อแม่ควรส่งเสริมให้เด็กเกิดความพร้อม ดังนี้

1. ด้านการช่วยเหลือตัวเอง
พ่อแม่ควรให้โอกาสเด็กช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เมื่อเด็กมีความพร้อมให้มากที่สุด เช่น กินข้าว อาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว เข้าห้องน้ำ ช่วยงานบ้านต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะฝึกความคิด การตัดสินใจ การลงมือทำแล้ว ยังจะช่วยพัฒนาความภาคภูมิใจในตนเองให้กับเด็กเมื่อเขาทำสำเร็จ โดยพ่อแม่ควรบอกสอนหรือจับมือทำ เมื่อเด็กทำได้ควรปล่อยให้เด็กทำเองได้เพิ่มขึ้น และให้คำชมเชย เป็นกำลังใจแก่เด็ก ฝึกฝนซ้ำๆจนเด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทั้งหมด

2. ด้านอารมณ์
พ่อแม่ควรสอนให้เด็กรู้จักอดกลั้น รอคอย และแสดงอารมณ์ออกอย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาการปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมต่อไป โดยพ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ไม่ยั่วยุเด็กให้อารมณ์เสียบ่อย ๆ พ่อแม่ควรให้ความสนใจพฤติกรรมที่ดีที่เหมาะสมของเด็ก เช่น พูดเพราะ มีน้ำใจ และชมเชย เพื่อให้เด็กรู้ว่า เขาควรมีพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์อย่างไร ส่วนพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น ถูกขัดใจ แล้วร้องไห้อาละวาด พ่อแม่ไม่ควรใส่ใจ เมื่อเด็กอารมณ์สงบลง พ่อแม่ควรพูดเตือนไม่ให้ทำอย่างนั้นอีก

3. ด้านสติปัญญา
พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่สมบูรณ์มากขึ้น โดยพ่อแม่ตั้งคำถามง่าย ๆ ให้เด็กคิดหาคำตอบ พาเด็กออกไปเที่ยวนอกบ้านให้หัดสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็น พูดคุยถามตอบให้คำแนะนำเด็ก ฝึกเด็กให้หัดสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวเพราะเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก หรือเล่านิทานให้เด็กฟัง บ่อย ๆ

4. ด้านสังคม พ่อแม่ควรเตรียมเด็กให้พร้อมในด้านต่าง ๆ ดังนี้
4.1 รู้จักเคารพสิทธิผู้อื่น พ่อแม่ควรสอนให้เด็กรู้จักใช้คำพูด เช่น ขอโทษ ขอบคุณ เคาะประตูก่อนเข้าห้อง ขออนุญาตก่อนหยิบของคนอื่นไปใช้ เป็นต้น โดยพ่อแม่ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีและชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง
4.2 รู้จักรอคอย พ่อแม่ควรสอนให้เด็กรู้จักรอคอย ไม่ใช่อยากได้อะไรต้องได้ทันที เช่น แม่บอกให้คอยเดี๋ยวนะ ให้แม่ทำงานเสร็จก่อน แล้วแม่จะเล่นด้วย
4.3 มีบทบาททางเพศให้เหมาะสม โดยพ่อแม่ต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของเพศหญิงชายที่เหมาะสม ให้เด็กแต่งกายและเล่นของเล่นตามเพศของตน
4.4 การเล่นกับเพื่อน ฝึกให้เด็กเล่นได้หลายอย่าง เรียนรู้ที่จะอยู่ในกติกาการเล่นตลอดจนรู้แพ้รู้ชนะ

พัฒนา EQ ให้ลูก

EQ (Emotional Quotient) หมายถึง ความสามารถของคนด้านอารมณ์ จิตใจ และรวมถึงทักษะการเข้าสังคมด้วย คนที่มี EQ ดี มักจะเป็นคนที่มีความสุขในชีวิตและมักจะประสบความสำเร็จได้สูง

ลักษณะของคนที่มี EQ ดี คือ
1. สามารถตระหนักรู้อารมณ์ของตนเอง
2. สามารถควบคุมจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น
3. รู้จักให้กำลังใจตนเองในทุกสถานการณ์
4. สามารถตระหนักรู้อารมณ์ของผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
5. มีทักษะทางสังคมและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเพื่อช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) คือ
1. ฝึกตนเองให้ไวต่อการรับรู้ภาวะอารมณ์ของเด็ก
2. ยอมรับทั้งอารมณ์ด้านบวกและลบของเด็ก
3.ช่วยเด็กให้สามารถหาคำอธิบายที่เกี่ยวกับอารมณ์และรู้จักอารมณ์ของตนเองให้ชัดเจนขึ้นตาม

ความรู้สึกอย่างที่เขาเป็น
4. แนะนำวิธีการจัดการอารมณ์ของเด็ก ฝึกเด็กให้รู้จักยับยั้งอารมณ์
5. กำหนดขอบเขตของพฤติกรรม และสอนการแสดงออกที่เป็นที่ยอมรับ
6. สอนทักษะการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ฝึกเด็กให้คิดแก้ปัญหา
7. สอนทักษะการเข้าสังคม ฝึกเด็กให้รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคม

การสอนเด็กให้ควบคุมอารมณ์อย่างฉลาด เป็นการให้วัคซีนป้องกัน ให้เด็กสามารถเผชิญกับเหตุการณ์ที่เป็นความเครียดในชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและประสบความสำเร็จในชีวิตซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องช่วยกัน

เลี้ยงลูกให้มีความมั่นใจในตัวเอง

ความมั่นใจในตัวเอง เป็นความรู้สึกที่สำคัญมากสำหรับทุกคน เพราะจะทำให้การใช้ชีวิตไม่เครียด ไม่กังวลว่าตัวเองเป็นอย่างไรในสายตาของผู้อื่น ไม่ต้องคอยหวั่นไหวในคำวิพากวิจารณ์ ทำอะไรจะเป็นธรรมชาติ สบาย ๆ ไม่กลัวถูกตำหนิ เด็กจะมีความมั่นใจในตัวเองได้ เขาต้องรู้สึกว่าตัวเขาดีพอ เป็นที่ยอมรับของพ่อแม่ เขาจึงเรียนรู้ที่จะยอมรับตัวเขาเอง ในการสร้างความรู้สึกนี้ พ่อแม่ต้องให้สิ่งเหล่านี้กับเด็ก

1. ให้ความรักความอบอุ่น เด็กที่รู้สึกว่าพ่อแม่รักเขาอย่างที่เขาเป็น โดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ ทำให้เด็กรู้สึกเป็นที่ต้องการ ตนมีค่าสำหรับพ่อแม่ พ่อแม่ยอมรับเขา เด็กย่อมมีความรู้สึกดีต่อตัวเอง เขาจึงมั่นใจในตัวเอง พอใจตัวเองอย่างที่เป็น

2. ให้คำชมเมื่อเด็กอะไรได้ ทำสิ่งที่ดี คำชม เป็นอาหารใจที่สำคัญอย่างหนึ่งของเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกมั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่า เขาเป็นคนดีมีคุณค่า รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง อยากทำดีต่อไป การให้คำชมกับเด็กควรทำให้เหมาะสมกับสิ่งที่เด็กทำ ไม่ควรพูดเกินความจริง ควรให้คำชมในขณะที่เด็กทำพฤติกรรมนั้นหรือหลังจากนั้นไม่นาน เพื่อให้เด็กได้รู้สึกถึงความพอใจจากการทำพฤติกรรมนั้น

3. อย่าตำหนิรุนแรง เมื่อเด็กทำผิดพลาด หรือทำอะไรที่ไม่เหมาะสม ควรพูดกับเด็กดี ๆ แบบมีเหตุผล ถ้าเด็กทำผิดโดยไม่ตั้งใจ พ่อแม่ควรแนะนำ ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ช่วยเด็กทำ แก้ไขข้อผิดพลาด ถ้าเด็กทำผิดโดยตั้งใจ ควรหาสาเหตุว่าทำไมเด็กทำเช่นนั้น เช่น เด็กโกรธจึงทำลงไป การแก้ที่ต้นเหตุจะเป็นการแก้ปัญหาที่ได้ผลดีที่สุด การตำหนิเด็กอย่างรุนแรงซ้ำ ๆ บ่อยครั้ง จะให้ผลร้ายกับจิตใจเด็ก ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับตัวเอง กลายเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง ขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง รู้สึกตัวเองไม่ค่อยมีคุณค่า คนอื่นไม่ค่อยชอบเขา ฉะนั้นพ่อแม่ไม่ควรตำหนิเด็กพร่ำเพรื่อหรือบ่อยครั้ง และไม่ควรใช้คำพูดที่บาดใจเด็ก เช่น โง่ เซ่อ ปัญญาอ่อน เป็นต้น

4. อย่าให้เด็กทำงานที่ยากเกินความสามารถของเขา การทำอะไรแล้วสำเร็จจะเสริมความมั่นใจในตัวเด็กเองอย่างมาก การให้งานที่ยากเกินไป เด็กทำไม่ได้ จะรู้สึกเสียกำลังใจ และถ้าเกิดขึ้นบ่อย ๆ สุดท้ายเด็กจะไม่มั่นใจในตัวเอง นอกจากนี้ การคาดหวังเด็กมากเกินความสามารถของเขา เพื่อตอบสนองความต้องการของพ่อแม่ ทำให้เด็กหมดหวังท้อแท้ใจ ฉะนั้นพ่อแม่ควรยอมรับในความสามารถของเด็กอย่างที่เขามี

5. เน้นให้เด็กมีประสบการณ์ชีวิตด้วยตนเอง การให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตัวเอง ทำให้เขาเป็นคนเรียนรู้การใช้ชีวิตโดยตรง ให้เขาลองผิดลองถูก ทดลองทำดู ผิดบ้างก็ถือเป็นการเรียนรู้ถ้าผู้ใหญ่ให้โอกาส พอเด็กโตขึ้นจะเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ มั่นใจ เวลาจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรให้รู้เหตุผล ไม่ใช่ทำตามคนอื่นไปเรื่อย ๆ นอกจากนั้นการที่เด็กสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ทำให้มีความคล่องตัว มีอิสระของชีวิตสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตัวเอง เอาตัวรอดได้

เลี้ยงลูกให้ถูกเพศ

พฤติกรรมผิดเพศส่วนใหญ่ สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ด้วยการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เนื่องจากความรู้สึกของคนเราที่เป็นหญิงหรือชายเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเปลี่ยนแปลงได้ยากหลังอายุ 2-3 ปี และเด็กเมื่อแสดงบทบาทประจำเพศแล้วจะเปลี่ยนแปลงได้ยากหลังอายุ 6 ปี ฉะนั้นช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิตจึงมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาเรื่องเพศให้ถูกต้อง

การป้องกันให้เด็กเติบโตมาโดยไม่มีพฤติกรรมผิดเพศ มีดังนี้

1. การฝากครรภ์ที่ถูกต้อง จะป้องกันไม่ให้แม่ได้รับฮอร์โมนเพศจากภายนอกอย่างไม่เหมาะสม

2. ถ้าเด็กเกิดมามีอวัยวะเพศกำกวม ควรรีบปรึกษาแพทย์ให้แน่ชัดว่า เด็กควรถูกเลี้ยงให้เป็นเด็กหญิงหรือชายจึงจะเหมาะสมที่สุด ซึ่งการตัดสินใจนี้ควรให้เร็วที่สุดและควรก่อนอายุ 1 ปี เพื่อการเลี้ยงดูจะได้ไม่สับสน

3. เลี้ยงเด็กตามเพศที่เด็กเกิดมา เด็กหญิงควรเลี้ยงแบบเด็กหญิง เด็กชายควรเลี้ยงแบบเด็กชาย อย่าส่งเสริมพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนเด็กขาด

4. พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก ให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจในพ่อแม่ของตน เด็กจะได้เอาอย่างบทบาทประจำเพศของตนได้

5. พ่อแม่ลูกควรมีความสัมพันธ์ที่ดี เด็กจะได้มีโอกาสใกล้ชิดและได้เลียนแบบ เวลาที่พ่อแม่ลูกจะใช้ชีวิตร่วมกัน เรียนรู้จากกัน สำคัญต่อการเรียนรู้บทบาทประจำเพศของเด็กโดยตรง

6. ถ้าเห็นว่า เด็กมีพฤติกรรมต่อผิดเพศ ควรรีบแก้ไข ถ้าแก้ไขเองไม่ได้ควรพาเด็กมาพบแพทย์

เลี้ยงลูกให้มีระเบียบวินัย

การฝึกระเบียบวินัยเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตเด็ก พ่อแม่ต้องสอนให้เด็กรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ และขอบเขตของพฤติกรรมอยู่แค่ไหน การฝึกวินัย คือ การสอนเด็กให้รู้จักควบคุมพฤติกรรมของตนเอง เมื่อเด็กยังเล็ก พ่อแม่จะต้องเป็นผู้ช่วยเด็กควบคุมพฤติกรรมของเขา ด้วยการอบรมอย่างเสมอต้นเสมอปลายตั้งแต่เล็ก เมื่อโตขึ้นเด็กจะควบคุมตนเองได้ในที่สุด

วินัยพื้นฐานที่เด็กควรได้รับการปลูกฝังจากพ่อแม่ มีดังนี้
1. วินัยในความประพฤติทั่วไป เช่น เก็บของเป็นที่, ตรงต่อเวลา, รู้จักกาละเทศะ, ปฏิบัติ ตามกฏระเบียบ
2. วินัยในกิจวัตรประจำวัน เช่น กินนอนเป็นเวลา, ช่วยเหลือตัวเองได้ตามวัย
3. วินัยในการเรียน การทำงาน เช่น รับผิดชอบในการเรียน, รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
4. วินัยในการควบคุมตนเอง เช่น ควบคุมอารมณ์ได้ดี, ไม่โกรธจนควบคุมตนเองไม่ได้, อดทนต่อความยากลำบาก การทำงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น

การฝึกวินัยต้องเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็กบนพื้นฐานของความรักความอบอุ่นและความ

สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หลักสำคัญที่จะช่วยให้เด็กมีวินัย คือ พ่อแม่ต้องมีความหนักแน่น สม่ำเสมอและยึดมั่นในหลักการที่ชัดเจนว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ และพ่อแม่ต้องสื่อสิ่งเหล่านี้ให้เด็กรู้และปฏิบัติตาม การเลี้ยงดูเด็กควรอยู่ในทางสายกลาง อย่าเข้มงวดมากเกินไปและอย่าตามใจมากเกินไป

เด็กที่ถูกเลี้ยงดูโดยขาดวินัย หากไม่ได้รับการช่วยเหลือแก้ไข จะเติบโตด้วยความไม่มั่นใจ เพราะนอกจากไม่สามารถควบคุมตนเองได้แล้ว ยังไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ จะมีการตัดสินใจที่ช้า มีความอดทนน้อย ไม่สามารถยอมรับความผิดพลาดได้ อยู่ในสังคมใดก็จะลำบาก

ส่งเสริมการเล่นที่เหมาะสม

การเล่นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับเด็ก ๆ ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง อารมณ์เบิกบานแจ่มใส ช่วยให้เกิดความคล่องตัว พัฒนากล้ามเนื้อต่าง ๆ การประสานการทำงานร่วมกัน ของมือและสายตา ช่วยให้เกิดความจำ ความคิดแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ ช่วยทักษะทางสังคม การอยู่ร่วมกัน การแบ่งปัน ผลัดเปลี่ยน ออมชอม รู้เขารู้เรามากขึ้น

การออกกำลังกลางแจ้งเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากเด็กจะได้รับอากาศ แสงแดด สัมผัสกับดินฟ้าอากาศแล้ว การเล่นวิ่ง กระโดด ปีนป่าย แกว่งไกว ฯลฯ จะกระตุ้นใยและเซลส์ประสาท กล้ามเนื้อ กระดูก การสัมผัสช่วยให้เด็กมีการทรงตัวให้ดีขึ้น มีความคล่องตัวมากขึ้น

การเล่นของเด็กวัย 3-6 ปี จะเล่นรวมกลุ่มกับเด็กอื่น มีสมาชิกของกลุ่มเป็นผู้นำและผู้ตามชั่วคราว เล่นสมมติซึ่งเด็กมักเลียนแบบจากสิ่งที่ได้เห็น เช่น ชีวิตในบ้าน หรือโรงเรียน สมมติตนเองและเด็กอื่น ๆ สวมบทบาทต่าง ๆ เด็กอาจมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเล่น เช่น ใบไม้แทนเงิน ลูกปัดแทนสตางค์ ตุ๊กตาเป็นน้องหรือนักเรียน เป็นต้น การเลือกของเล่นให้เด็ก ควรจะต้องคำนึงถึงระดับอายุและความชอบของเด็ก ของเล่นบางชนิด อาจจะเหมาะกับเด็กคนหนึ่งแต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับเด็กอื่น เด็กส่วนใหญ่จะไม่สนใจของเล่นที่ยากเกินไป ฉะนั้นควรเริ่มต้นจากการเล่นง่าย ๆ ก่อน ค่อยเปลี่ยนเป็นยากขึ้นโดยไม่ทำให้เด็กรู้สึกขาดความมั่นใจ ของเล่นสำหรับเด็กวัยนี้ เช่น กระบะทราย กะละมัง ถังน้ำ พลั่วตักทราย กระดาษวาดรูประบายสี ดินน้ำมัน กรรไกรตัดกระดาษ ลูกปัดสีต่าง ๆ หุ่นเชิด บ้านตุ๊กตา ภาพ jigsaw ดนตรี กลองตีอันเล็ก ชิงช้า ไม้ลื่น เป็นต้น

เนื่องจากการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการในเด็ก พ่อแม่จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก ด้วยการสอนให้เด็กรู้จักเล่นหลายๆอย่างทั้งการเล่นกลางแจ้ง การเล่นรวมกับผู้อื่น การเล่นที่ใช้ความคิด เป็นต้น นอกจากช่วยให้เด็กสนุกสนานกับการเล่นแล้ว ยังช่วยในการพัฒนาด้านภาษา ทำให้เด็กรู้จักใช้จินตนาการ ใช้ความคิดสร้างสรรค์คลายเครียด ตลอดจนเรียนรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เพิ่มทักษะทางสังคมซึ่งเป็นหัวใจของการใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นการป้องกันปัญหาการปรับตัวซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต

ที่มา ชมรมจิตแพทย์เด็กและ วัยรุ่นแห่งประเทศไทย

Back to posts
Comments:

Post a comment

.




1 | 11 | 97 | 150 | 108926
Thai Story
Thai Gay
Thailand stories
dusex


© 2013 Thai-X.Sextgem.com
Thai Information Center