watch sexy videos at nza-vids!
Blog ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริการ , ด้านการแพทย์,สุขภาพ , การศึกษา , งานเวชระเบียน , สิทธิการรักษา


ท้องผูก เรื่องอึดอัดที่ควรรีบแก้ไข

ท้องผูก (Constipation) เป็นอาการ ไม่ใช่โรค ได้แก่ อาการไม่ถ่ายอุจจาระตามปกติ ซึ่งโดยคำนิยามทางการแพทย์ ท้องผูกหมายถึง ความผิดปกติทั้ง จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ ซึ่งต้องน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ลักษณะของอุจจาระต้องแห้ง แข็ง การขับถ่ายต้องใช้แรงเบ่ง หรือใช้มือช่วยล้วง และภายหลังอุจจาระแล้วยังมีความรู้สึกว่า อุจจาระไม่สุด

ท้องผูก เป็นอาการพบบ่อยมาก ประมาณ 15% ของประชากรทั้งโลก พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบได้บ่อยกว่าในเด็ก (จากกล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่ายในเด็กยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่) และในผู้สูงอายุ (จากกล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่ายเสื่อมตามอายุ รวมทั้งผู้สูงอายุยังขาดการเคลื่อนไหว และมักมีโรคประจำตัวที่ส่งผลถึงการทำงานของกล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่าย) และผู้หญิงพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย ซึ่งอาจเป็นผลจากฮอร์โมนเพศที่แตกต่างกัน

อาการท้องผูกมีอยู่ 2 ลักษณะ ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน

1. ท้องผูกแบบอ่อนแรง เพราะลำไส้ใหญ่ไม่มีแรงบีบตัว เนื่องจากดื่มน้ำน้อย ออกกำลังไม่เพียงพอ กินอาหารกากใยน้อย

2. ท้องผูกแบบหดเกร็ง เพราะลำไส้ใหญ่บีบตัวไม่สม่ำเสมอ ทำให้ขับถ่ายผิดปกติ เกิดจากปัญหาทางด้านจิตใจและระบบประสาทจากความเครียด กังวล สูบบุหรี่จัด ดื่มชากาแฟหรือกินอาหารที่ทำให้ลำไส้ใหญ่อุดตัน

คนที่เกิดอาการท้องผูกติดต่อกันอาจจะต้องสวนทวารด้วยลูกยาง หรือกินยาถ่ายเพื่อช่วยให้กากอาหารที่คั่งค้างอยู่ออกมา ส่วนการสวนทวารด้วยน้ำกาแฟหรือมะนาวเจือจางตามวิธีการธรรมชาติบำบัดนั้น หลายคนเข้าใจผิดว่าช่วยในการขับถ่าย ทั้งที่จุดประสงค์คือการล้างสารพิษออกมาจากร่างกาย การถ่ายนั้นเป็นผลพลอยได้ แต่ไม่ควรใช้วิธีนี้แก้ปัญหาท้องผูกบ่อยๆ การเลือกกินและงดพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุเป็นการรักษาที่ดีที่สุด

ท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อย คือ

- เกิดจากลำไส้เคลื่อนตัวช้ากว่าปกติ หรือ บีบตัวลดลง ทั้งนี้เพราะ ขาดตัว กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ จากมีลำอุจจาระเล็ก เช่น จากกินอาหารที่ขาดใยอาหาร และ/หรือ ดื่มน้ำน้อย อุจจาระจึงแข็งและลำอุจจาระเล็ก ลำไส้จึงบีบตัวลด ลง อุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้า

- จากขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย จึงส่งผลให้ลำไส้บีบตัว เคลื่อนตัวช้า

- จากปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ เช่น ความเครียด ความกังวล หรือการไม่มีเวลาพอในการขับถ่าย จึงส่งผลถึงการทำงานของลำไส้ ลดการบีบตัวลง

สาเหตุอื่นๆที่พบได้น้อยกว่า คือ

- มีโรคเรื้อรังที่ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของกล้ามเนื้อลำไส้ และ/หรือประสาทลำไส้ จึงส่งผลให้ลำไส้บีบตัวลดลง กากอาหาร/อุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้าลง เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ และไตวาย

- มีโรคของระบบสมอง และประสาท จึงส่งผลถึงการทำงานเคลื่อนไหวบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ลดลง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคเนื้องอก/มะเร็งของสมอง หรือ ของไขสันหลัง

- โรคของกล้ามเนื้อเอง จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อลำไส้บีบตัวลดลง เช่น โรคกล้ามเนื้อแข็ง (Scleroderma)

- กินยาบางชนิดที่ลดการบีบตัวของลำไส้ เช่น ยาคลายเครียดบางชนิด ยาโรคกระเพาะอาหารบางชนิด ยาลดความดันโลหิตบางชนิด หรือ ยาขับน้ำ

- โรคของลำไส้เอง ก่อให้เกิดการอุดกั้นลำไส้ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ทำอย่างไรไม่ให้ท้องผูก

1.ดื่มน้ำให้ได้วันละประมาณ 1-2 ลิตร ถ้าไม่มีโรคหัวใจ โรคของเส้นเลือด โรคไตอยู่ บางคนอาจท้องผูกจากการดื่มนมหรือรับประทานแคลเซียมในปริมาณมาก

2.เข้าห้องน้ำทันทีเมื่อรู้สึกปวดถ่าย ไม่ควรรอหรือทนอั้นไว้เพราะยิ่งรอไว้นาน ยิ่งเพิ่มอาการท้องผูก และควรฝึกขับถ่ายเป็นเวลา

3.ออกกำลังกายน้อย หรือใช้เวลานอนบนเตียงนาน ๆ เช่น คนป่วยนอนโรงพยาบาลนาน ๆ ทำให้ท้องผูก จึงควรขยับเขยื้อนร่างกาย ออกกำลังกายเสมอ ๆ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดถ้ามีอาการปวดข้อ อาจลองทำกายบริหารในสระว่ายน้ำ

4.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีใยน้อย เช่น ไอศกรีม ชีส หรือเนยแข็ง เนื้อวัว ควรหลีกเลี่ยงชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะปัสสาวะบ่อย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ

5.ทานอาหารที่มีใยอาหาร 20-30 กรัมต่อวัน เพราะใยอาหารจะทำให้เนื้ออุจจาระอุ้มน้ำมากขึ้น แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมารของใยอาหารในทุก ๆ สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวจะได้ไม่เกิดอาการท้องอืดแน่น

6.หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย หรือการสวนทวารนาน ๆ เพราะไม่ใช่วิธีการรักษาให้หายขาด การใช้ยาระบายนาน ๆ ทำให้ร่างกายลืมหน้าที่ตนเอง

Tip
ใยอาหารพบในผัก เช่นคะน้า กวางตุ้ง ผักโขม ผลไม้ เช่น ส้ม มะละกอ และผลไม้ที่กินได้ทั้งเปลือก ควรกินผักผลไม้ให้ได้ 4-5 ส่วนต่อวัน (ประมาณ 5 ทัพพีหรือ 1 ฝ่ามือผู้ใหญ่) เมล็ดัญพืช ถั่ว ลูกพรุน ข้าวกล้อง โฮลวีต ฯลฯ โดยเฉพาะพรุนนั้นเป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์มากเป็นพิเศษ

ผลข้างเคียงของการท้องผูก โดยทั่วไปไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรงจากอาการท้องผูก นอกจากความไม่สุขสบาย นอกจากนั้น คือ เกิดโรคริดสีดวงทวารจากการเบ่งอุจจาระเป็นประจำ และ/หรือ อาจเกิดแผลแตกรอบๆทวารหนัก จากก้อนอุจจาระที่แข็งกดครูด แต่ในบางครั้งเมื่อท้องผูกเรื้อรังมากจนก้อนอุจจาระแข็งมาก อาจก่ออาการลำไส้อุดตันได้ (ปวดท้องมาก รุนแรง อาเจียนมาก ไม่ผายลม) ซึ่งเป็นอาการที่ควรต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน

Back to posts
Comments:

Post a comment

.




1 | 13 | 40 | 31 | 108974
Thai Story
Thai Gay
Thailand stories
dusex


© 2013 Thai-X.Sextgem.com
Thai Information Center