watch sexy videos at nza-vids!
Blog ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริการ , ด้านการแพทย์,สุขภาพ , การศึกษา , งานเวชระเบียน , สิทธิการรักษา


23 คำถามยอดนิยม เกี่ยวกับโรคเต้านม

  1. มีอาการเจ็บเต้านม จะเป็นมะเร็งหรือไม่

    มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มักจะไม่เจ็บ สาเหตุของการเจ็บเต้านม ถ้าเจ็บจากเนื้อนมโดยตรง เชื่อว่าส่วนหนึ่งมีอิทธิพลมาจากการที่มีระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ในบางคนจะไม่พบสาเหตุของอาการเจ็บเต้านม อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บเต้านมส่วนใหญ่ 95% มักไม่ได้มีสาเหตุจากมะเร็งเต้านม มีเพียง 5% เท่านั้นที่มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุของอาการเจ็บดังกล่าว ซึ่งมักพบในรายที่มีก้อนค่อนข้างใหญ่และมีการลุกลามของเซลล์มะเร็งมาที่ผิวหนังจึงทำให้มีอาการเจ็บ แต่ถ้าก้อนเล็กก็อาจจะไม่เจ็บก็ได้

  2. ก้อนที่คลำพบที่เต้านมเกิดจากอะไร

    ก้อนที่คลำพบที่เต้านมนั้นอาจจะเป็นก้อนที่เป็นมะเร็งหรือไม่เป็นมะเร็งก็ได้ โดยส่วนใหญ่ มักไม่ใช่มะเร็ง ซึ่งสาเหตุของก้อนที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น การที่เนื้อนมหนาตัวขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเพศหญิงหรืออาจเป็นเนื้องอกของเต้านม นอกจากนี้ก็อาจเป็นถุงน้ำ (cyst) สาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งได้แก่ มะเร็งเต้านม

  3. ถุงน้ำที่เกิดขึ้นที่เต้านม (cyst) มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งหรือไม่

    ถุงน้ำของเต้านม หรือซีสต์ ถ้าเป็นซีสต์ธรรมดา หมายถึงถุงที่ภายในมีน้ำ โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่กลายเป็นมะเร็ง ถ้าไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องรักษา สาเหตุที่เกิดซีสต์ยังไม่ทราบชัดเจน แต่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมีส่วนทำให้เกิดซีสต์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอายุหลัง 40 ปีไปแล้วโอกาสเกิดซีสต์จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งจำนวนและขนาด และจะลดลงทั้งจำนวนและขนาดจนหายไปหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้วหลายปี ซึ่งซีสต์อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บได้ แต่อย่างที่บอกไปข้างต้นก็คือ ถ้าไม่เจ็บ ไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ถ้าเป็นซีสต์ที่มีอาการและก้อนใหญ่ เช่น เจ็บที่เต้านมก็มักจะรักษาโดยการเจาะดูดเอาน้ำด้านในออกอาการก็จะดีขึ้น หลังจากเจาะเอาน้ำออกแล้วประมาณ 50% จะหายไปเลย ไม่เป็นขึ้นมาอีก แต่อีก 50% ก็มีโอกาสที่ซีสต์จะกลับขึ้นมาใหม่ ถ้ายังมีอาการอยู่การเจาะเอาน้ำออกอาจทำได้อีก 1-2 ครั้ง ถ้ายังเจ็บอยู่หรือมีก้อนขึ้นอยู่เรื่อยๆ หรือกังวล แพทย์ก็จะแนะนำให้ผ่าตัดเอาออก อย่างไรก็ดีมีซีสต์อีกประเภทหนึ่งซึ่งเราเรียกว่า complicated cyst หรือ complex cyst หมายถึงซีสต์ที่ในถุงนอกจากจะมีน้ำแล้วยังมีเนื้ออยู่ข้างใน ซึ่งซีสต์เหล่านี้จำเป็นต้องได้เนื้อมาตรวจให้ชัดเจนว่ามีสาเหตุมาจากมะเร็งหรือไม่ ดังนั้นหากพบว่าเป็นซีสต์ชนิดนี้แพทย์มักจะแนะนำให้เจาะหรือผ่าเอาซีสต์ก้อนนั้นไปตรวจ

  4. ผิวหนังของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือมีลักษณะที่ผิดปกติไปจากเดิม เช่น ผิวลอก มีแผลเกิดขึ้นบ่อยๆ เหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่

    มะเร็งเต้านมอาจมาด้วยเรื่องอาการผิดปกติของผิวหนังที่เต้านมได้ แต่พบได้ไม่บ่อยที่แพทย์ให้ความสำคัญคือ การมีสะเก็ดหรือมีผิวหนังลอกบริเวณหัวนมและไม่หายขาด โดยเฉพาะถ้าไปพบแพทย์ผิวหนังมาแล้วและทายาที่แพทย์ผิวหนังสั่งมาแล้ว 1-2 สัปดาห์แล้วไม่หาย คงต้องมาพบศัลยแพทย์เพื่อพิสูจน์ให้ชัดว่าเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่

  5. การเสริมเต้านมจะทำให้มีความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นหรือไม่

    การเสริมเต้านมด้วยถุงซิลิโคน ซึ่งภายในอาจเป็นน้ำเกลือ หรือซิลิโคน ก็ตามไม่ได้ทำให้โอกาสของการเกิดมะเร็งเต้านมสูงขึ้นกว่าปกติ แต่จะเป็นปัญหารบกวนในการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมหรืออัลตราซาวน์ เนื่องจากถุงเหล่านี้จะทำให้ความแม่นยำในการวินิจฉัยลดลง เพราะฉะนั้นหากแพทย์ผู้วินิจฉัยสงสัยว่าผู้ที่เสริมเต้านมด้วยถุงซิลิโคนจะเป็นมะเร็งเต้านม แพทย์ก็จะส่งไปตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการอื่นเพิ่มเติม

  6. วัยรุ่นควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจเต้านมเป็นประจำหรือไม่

    ประชาชนทั่วไปที่มีปัจจัยเสี่ยงปกติ ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่แนะนำให้เริ่มตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเมื่ออายุ 25 ปีขึ้นไป แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงสูงกว่าปกติ เช่น มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมเมื่ออายุน้อยกว่า 40 ปี ยกตัวอย่างเช่นเป็นมะเร็งเต้านมตอนอายุ 37 ปี ก็จะแนะนำให้คนไข้มาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเต้านมก่อนอายุของญาติสายตรงคนที่เป็นโรค 5 ปี ในกรณีนี้ก็จะแนะนำให้คนไข้มาพบแพทย์และตรวจแมมโมแกรมตั้งแต่อายุ 32 ปีแทนที่จะเป็น 40 ปีเหมือนประชาชนทั่วไป

  7. มีน้ำไหลออกจากหัวนมอันตรายหรือไม่

    ของเหลวที่ไหลออกจากหัวนมมีได้หลายอย่าง ของเหลวที่ออกจากหัวนมและไม่ใช่มะเร็งนั้นมักออกจากเต้านมทั้งสองข้างหรือข้างเดียวแต่หลายๆจุด และของเหลวจะมีสีขาวคล้ายนม ส่วนของเหลวที่มีลักษณะสงสัยมะเร็งนั้นมักออกจากเต้านมข้างเดียว จุดเดียว บางครั้งของเหลวมีสีคล้ายเลือด ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ไปตรวจเพื่อหาสาเหตุ และหากไม่พบลักษณะที่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง แพทย์ก็มักจะแนะนำให้ตัดเอาท่อที่เป็นสาเหตุของการมีของเหลวออกจากหัวนมนั้นออก นำไปพิสูจน์ สาเหตุอีกอย่างที่ทำให้มีของเหลวออกจากเต้านมและพบได้บ่อย คือ การมีเนื้องอกอยู่ในท่อน้ำนมซึ่งเรียกว่า intraductal papilloma นอกจากนี้ก็อาจจะมีการขยายตัวของท่อน้ำนมที่ผิดปกติซึ่งมักไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม

  8. เมื่อไหร่ควรตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม

    โดยทั่วไปการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องแมมโมแกรมนั้นมี 2 กรณี ได้แก่

  9. การตรวจแมมโมแกรมเพื่อคัดกรองเรื่องของมะเร็งเต้านม ซึ่งแนะนำให้ตรวจเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ถ้าเป็นไปได้ควรจะตรวจปีละ 1 ครั้ง

  10. เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์เนื่องจากมีอาการของเต้านม และแพทย์พิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องตรวจเต้านมเพิ่มเติมด้วยเครื่องแมมโมแกรม หรืออัลตราซาวน์ ซึ่งการที่แพทย์จะพิจารณาส่งตรวจด้วยวิธีใดนั้นก็ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ก็มักแนะนำให้ตรวจด้วยแมมโมแกรม แต่ถ้าผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 35 ปีหรือมีเนื้อนมค่อนข้างจะแน่น การตรวจแมมโมแกรมจะเห็นเป็นสีขาวซึ่งจะบดบังลักษณะของมะเร็งทำให้ตรวจพบยาก แพทย์จึงไม่นิยมแนะนำให้ตรวจแต่จะให้ตรวจด้วยอัลตราซาวน์แทน แต่อย่างไรก็ดีถ้าแพทย์สงสัยมะเร็งเต้านมก็อาจสั่งให้ตรวจแมมโมแกรมในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 35 ปีได้

  11. การตรวจแมมโมแกรมมีแบบแนวตั้งและแนวนอนใช่หรือไม่ ? ผลที่ได้ต่างกันอย่างไร และเจ็บไหม

    การตรวจแมมโมแกรมส่วนใหญ่จะตรวจ 2 ท่าคือ การบีบเต้านมในแนวเฉียง และการบีบเต้านมในแนวนอน แล้วถ่ายเอกซเรย์เพื่อดูตำแหน่งของความผิดปกติว่าอยู่ที่ตำแหน่งไหนเมื่อนำ 2 ภาพที่ถ่ายได้มาประกอบกัน ฉะนั้นในการตรวจแมมโมแกรมทุกครั้งควรจะต้องตรวจเต้านมทั้งสองข้าง และทั้งสองท่าร่วมกัน ไม่ได้ตรวจท่าใดท่าหนึ่ง

    ส่วนคำถามว่า เจ็บหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจด้วยส่วนหนึ่ง เพราะเราต้องการที่จะให้เห็นความผิดปกติชัดที่สุด การที่จะชัดที่สุดก็จำเป็นที่จะต้องบีบเต้านมให้แบนมากที่สุด แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องบีบจนเจ็บจนทนไม่ได้ โดยเจ้าหน้าที่ที่ตรวจชำนาญจะบีบให้เต้านมแบนถึงจุดที่จะเริ่มเจ็บแล้วถ่ายเอกซเรย์ดังนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องตรวจแล้วเจ็บทุกคน ส่วนใหญ่ก็มักจะไม่เจ็บ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอะไร

  12. ต้องตรวจแมมโมแกรมตอนไหน ควรรอให้หมดประจำเดือนก่อนหรือไม่

    ช่วงก่อนและระหว่างมีประจำเดือน ผู้ป่วยหลายรายอาจมีการคัดตึงของเต้านม เพราะมีน้ำเข้าไปอยู่ในเนื้อของเต้านมเยอะมากขึ้น ทำให้ผู้เข้ารับการตรวจจะเจ็บเมื่อเต้านมถูกบีบมากขึ้น และการที่เต้านมคัด แน่น ก็จะทำให้การเห็นความผิดปกติ และความแม่นยำในการตรวจลดลงได้บ้าง แต่อย่างไรก็ดีการตรวจก็เห็นความผิดปกติได้ ดังนั้นถ้าไม่อยู่ในระหว่างที่เจ็บเต้านม ก็สามารถไปตรวจช่วงไหนก็ได้

  13. มะเร็งเต้านมมีอาการอย่างไรบ้าง

    ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยการคลำพบก้อนที่เต้านมมากที่สุด อย่างไรก็ตามอาจ มีอาการอื่นๆ ได้อีก เช่น มีของเหลวไหลออกจากหัวนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไหลออกจากเต้านมข้างเดียวและจุดเดียว และของเหลวที่ไหลออกมานั้นมีสีคล้ายเลือด อาการหัวนมบุ๋มข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาการเจ็บเต้านมก็อาจเป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว มะเร็งเต้านมมักจะไม่เจ็บ นอกจากนี้ก็จะมีผู้ป่วยบางรายที่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องมีแผลที่เต้านม

  14. มะเร็งเต้านมรักษาหายขาดหรือไม่

    มะเร็งเต้านมในปัจจุบัน ถ้าพบในระยะเริ่มต้นมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้สูง การที่จะรักษาหายขาดหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับระยะที่มาพบแพทย์ฉะนั้นหากเรามาพบแพทย์ในระยะเริ่มต้นได้มากเท่าไร โอกาสหายขาดก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

  15. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง

    สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็งเต้านมนั้นยังไม่ทราบอย่างชัดเจน โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมนั้นมีหลายประการด้วยกัน เช่น อายุ เป็นปัจจัยที่สำคัญ ยิ่งอายุมากขึ้นโอกาสเป็น มะเร็งเต้านมก็สูงขึ้น โดยเฉพาะอายุหลังจาก 40 ปีขึ้นไป โอกาสจะพบมะเร็งเต้านมก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงอันที่สองคือ สภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอาหารการกิน อาหารที่เชื่อว่าทำให้ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นคือ อาหารที่มีไขมันสัตว์สูง เนื้อแดง ปัจจัยเสี่ยงอันที่สามคือ ระยะเวลาการสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน เราเชื่อว่าเอสโตรเจนมีส่วนทำให้เซลล์ของเต้านมปกติมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งเต้านมได้ เพราะฉะนั้นยิ่งเนื้อนมมีการสัมผัสฮอร์โมนเอสโตรเจนนาน โอกาสที่จะเกิดมะเร็งเต้านมจะสูงมากกว่าปกติ การที่เนื้อนมสัมผัสเอสโตรเจนนาน เช่น ผู้ที่มีประจำเดือนเร็ว คือมีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือผู้ที่หมดประจำเดือนช้า คือหมดประจำเดือนเมื่ออายุมากกว่า 55 ปี ผู้ที่มีบุตรช้า คือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี ผู้ที่ไม่มีบุตร ผู้ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง เหล่านี้จะไม่มีการหยุดสร้างเอสโตรเจนชั่วคราว เนื้อนมก็จะไม่มีช่วงหยุดพักจากการสัมผัสด้วยเอสโตรเจน ปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง คือ ประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ในครอบครัว แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อพบคนในครอบครัวเป็นแล้วปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมจะเพิ่มขึ้นทุกราย อย่างไรก็ดี หากเป็นญาติสายตรง คือ แม่ พี่ หรือน้องเป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 40 ปี จะทำให้โอกาสของผู้ป่วยที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้น

  16. วิธีการรักษามะเร็งเต้านมทำอย่างไรบ้าง

    ปัจจุบันการรักษามะเร็งเต้านม มีทั้งการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง การให้ยาต้านฮอร์โมน การรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ การรักษาจะไม่ใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง แต่จะใช้หลายๆวิธีร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่แล้วถ้ามาในระยะเริ่มต้นการรักษามักทำด้วยวิธีการผ่าตัดก่อน ซึ่งการผ่าตัดก็จะมีสองวิธีหลักๆ วิธีที่ 1 คือการตัดเต้านมออกทั้งหมดร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ไปตรวจ วิธีที่ 2 คือการผ่าตัดแบบเก็บเต้านมไว้ร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองไปตรวจซึ่งวิธีนี้จำเป็นต้องได้รับการฉายแสงร่วมด้วย ผลการรักษาจึงจะเท่ากับการผ่าตัดวิธีแรก ฉะนั้นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมปัจจุบันไม่ต้องกังวลว่าจะต้องถูกตัดเต้านมทุกรายเพราะมีโอกาสที่จะผ่าตัดแบบเก็บเต้านมได้สูงมากขึ้น

  17. ผ่าตัดแล้วจะกลับมาเป็นอีกหรือไม่

    การที่ผ่าตัดแล้วจะกลับมาเป็นอีกหรือไม่ขึ้นกับระยะของโรค ส่วนใหญ่ถ้าพบมะเร็งก้อนเล็กการผ่าตัดสามารถเอาออกได้หมดมักจะไม่กลับมาเป็นอีก แต่อย่างไรก็ตามก็จะมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มีการกลับเป็นซ้ำได้อีก

  18. การรักษามะเร็งเต้านม ต้องผ่าตัดด้วยหรือ ? รักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด หรือทานยาต้านฮอร์โมนเลยได้หรือไม่

    การรักษามะเร็งเต้านมในระยะแรกนั้นมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องผ่าตัดเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งออกไปให้ได้มากที่สุด ส่วนการพิจารณาให้การรักษามะเร็งเต้านมไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือให้ยาเคมีบำบัดหรือทานยาต้านฮอร์โมนว่าจะเริ่มด้วยวิธีการใดก่อนนั้น ขึ้นกับระยะของโรค ถ้าหากผู้ป่วยมาด้วยก้อนที่ค่อนข้างใหญ่ (ส่วนใหญ่ก้อนใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตร) หรือว่ามีการลุกลามของมะเร็งเต้านมไปถึงผิวหนัง หรือลุกลามไปถึงกล้ามเนื้อใต้เต้านม ก็จำเป็นต้องให้ยาเพื่อลดขนาดของก้อนก่อนผ่าตัด นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่ขนาดของก้อนไม่ได้ใหญ่มากแต่ว่ามีเนื้อนมน้อยและอยากผ่าตัดแบบเก็บเต้านมไว้ก็อาจพิจารณาให้ยาก่อนเพื่อลดขนาดของก้อนลงก่อน เพื่อทำให้การผ่าตัดง่ายขึ้น และสามารถเก็บเต้านมไว้ได้ ถ้าไม่ได้อยู่ในสองกรณีข้างต้นส่วนใหญ่ก็จะให้การรักษาโดยการผ่าตัดได้เลย

  19. ต้องให้ยาเคมีบำบัดนานแค่ไหน แพงหรือไม่

    ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่ให้ประมาณ 4-8 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 3 สัปดาห์ การพิจารณาว่าจะให้กี่ครั้งขึ้นกับสูตรยาที่ให้ ราคาก็ขึ้นกับสูตรยาอีกเช่นกัน สูตรปกติทั่วไปราคาตกครั้งละประมาณหมื่นกว่าบาท แต่หากใช้สูตรที่ประกอบด้วยยาสมัยใหม่ราคาก็จะแพงขึ้น

  20. อาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดมีอะไรบ้าง

    ยาเคมีบำบัดออกฤทธิ์โดยการทำลายเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็วโดยเฉพาะเซลล์มะเร็ง ซึ่งถ้ามีหลงเหลืออยู่หลังผ่าก็จะถูกทำลายด้วยยาเคมีบำบัด แต่ในร่างกายก็มีเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วอีกหลายกลุ่ม ซึ่งก็จะถูกยาเคมีบำบัดทำลายไปด้วย เช่น เซลล์สร้างเม็ดเลือดซึ่งแบ่งตัวเร็ว ยาเคมีบำบัดจึงทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำลง ผลที่ตามมาคือ ผู้ป่วยจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ภูมิต้านทานลดลง ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดจึงต้องดูแลตนเองเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อให้น้อยลง เช่น ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะแนะนำให้ทำทานเองที่บ้าน ไม่ออกไปสัมผัสหรืออยู่ในที่ๆแออัดมีคนมาก เพื่อลดโอกาสการรับเชื้อจากภายนอก เซลล์กลุ่มที่สองที่มีการแบ่งตัวเร็วและได้รับผลจากยาเคมีบำบัด คือ เซลล์ที่สร้างเส้นผม ยาเคมีบำบัดบางสูตรอาจทำให้ผมร่วงได้ แต่ไม่ต้องกังวลเพราะผมที่ร่วงจะงอกกลับขึ้นมาใหม่หลังจากหยุดใช้ยาเคมีบำบัดไประยะหนึ่ง เซลล์กลุ่มที่สามที่แบ่งตัวเร็ว คือ เซลล์ของระบบทางเดินอาหารซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีอาการท้องเสียได้บ้าง ผลอื่นๆที่พบได้จากการใช้ยาเคมบำบัดซึ่งขึ้นกับยาแต่ละตัว เช่น ยาบางกลุ่มจะมีผลต่อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแย่ลงได้ อาการข้างเคียงอื่นๆ ทั่วไป เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ซึ่งไม่ต้องกังวลมากนักเพราะมียาที่ช่วยลดอาการดังกล่าวได้ดีมาก

  21. ต้องกินยาต้านฮอร์โมนไปนาน 5 ปีเลยหรือ แล้วจะหายขาดหรือไม่

    มะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดแล้วจะมีการตรวจพยาธิสภาพโดยละเอียด เพื่อดูพยากรณ์ของโรค ส่วนหนึ่งก็คือการตรวจตัวรับฮอร์โมน ถ้ามีตัวรับฮอร์โมนเป็นบวกการพยากรณ์ของโรคจะค่อนข้างดีและมักจะแนะนำให้มีการรักษาเสริมโดยการรับประทานยาต้านฮอร์โมน ซึ่งโดยทั่วไปมียาอยู่สองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ tamoxifen อีกกลุ่มหนึ่งยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ aromatase (Aromatase Inhibitor หรือ AI) ซึ่งยาทั้งสองกลุ่มนี้ส่วนมาก จะแนะนำให้รับประทานยาต่อเนื่องนาน 5 ปี เพราะมีผลการศึกษายืนยันถึงประสิทธิภาพชัดเจนว่าการรับประทานยาต้านฮอร์โมนติดต่อกันนาน 5 ปี จะทำให้มีโอกาสหายขาดเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็มีคนไข้บางส่วนที่มีโรคกลับมาเป็นใหม่ได้แต่เป็นเปอร์เซ็นต์น้อยๆ

  22. ถ้าลืมกินยาต้องทำอย่างไร

    ถ้าลืมกินยาในช่วงวันเดียวกันแต่คนละเวลา เช่น เคยทานทุกเช้าแต่ลืม และมานึกได้ช่วงสายหรือเย็นก็ให้รับประทานยาได้เลย แต่ถ้าลืมไปแล้ว 1 วัน แล้ววันรุ่งขึ้นมานึกขึ้นได้ ก็ให้ทานยาในปริมาณปกติ เช่น เคยทาน 1 เม็ดก็ให้ทาน 1 เม็ดเหมือนเคย ไม่ต้องทานทดแทนวันที่ลืม

  23. ผลข้างเคียงของยาต้านฮอร์โมนมีอะไรบ้าง

    ยาต้านฮอร์โมนมี 2 กลุ่มคือ tamoxifen และ AI ซึ่งผลข้างเคียงก็จะแตกต่างกัน tamoxifen นั้นมีผลข้างเคียงที่เรากังวลคือการทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานโอกาสที่จะเป็นมะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูกก็จะสูงกว่าปกติเล็กน้อย แต่ก็พบได้ไม่บ่อย ซึ่งระหว่างที่ได้รับยานี้แพทย์ก็มักจะแนะนำให้คนไข้ไปตรวจภายในปีละครั้ง นอกจากนี้อาการข้างเคียงอย่างอื่นคือโอกาสที่จะมีเส้นเลือดอุดตันก็จะสูงกว่าคนทั่วไป หากเส้นเลือดที่อุดตันไปอยู่ในบริเวณที่สำคัญ เช่น สมอง หัวใจก็อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ส่วนยากลุ่ม AI นั้นผลข้างเคียงที่จะถึงกับเสียชีวิตนั้นน้อยกว่า tamoxifen แต่ก็จะมีผลข้างเคียงอื่นที่เราพบได้ เช่น อาการปวดเมื่อยตามข้อ ปวดเมื่อยตัว ร้อนวูบวาบ กระดูกบางลง มีโอกาสกระดูกหักได้ง่ายกว่าปกติแต่ก็พบไม่บ่อย โดยยาในกลุ่ม AI จะใช้ในผู้ป่วยที่หมดประจำเดือนแล้ว (รังไข่หยุดทำงานแล้ว) เท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้ในคนไข้ที่ยังไม่หมดประจำเดือนได้

  24. วิธีการดูแลตนเองหลังการผ่าตัดต้องทำอย่างไรบ้าง
    การดูแลตนเองหลังการผ่าตัดเต้านมนั้นไม่ยุ่งยาก แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยเริ่มขยับไหล่หลังผ่าตัด 2-3 วันแรก และควรงดออกกำลังหนักๆ ในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดเพื่อให้แผลหายดีก่อน ในบางรายที่ต้องใส่ท่อช่วยระบายน้ำเหลืองก็ต้องดูแลรักษาความสะอาดของท่อและต้องระวังอย่าให้ท่อหลุด นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โอกาสที่จะมีปัญหาไหล่ติดก็จะเกิดได้ จึงแนะนำให้ทำการบริหารหัวไหล่ข้างที่ได้รับการผ่าตัด และไม่ให้เจาะเลือด วัดความดันที่แขนข้างนั้น ระมัดระวังไม่ให้มีแผลเกิดขึ้นโดยเฉพาะคนที่ชอบทำสวน ทำครัว ต้องระวังไม่ให้มีดบาด เพราะจะมีแขนบวมได้ง่าย แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ได้มีการเลาะต่อมน้ำเหลืองมากมายก็อาจจะไม่ต้องกังวลถึงปัญหาเหล่านี้มากนัก

  25. หลังจากผ่าตัดแล้ว แพทย์ให้ทานยาอยู่บ้าน การใช้ชีวิตประจำวันสามารถทำได้ตามปกติหรือไม่

    การใช้ชีวิตประจำวันสามารถทำได้ตามปกติ แต่ผู้ป่วยจะต้องมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามการรักษา ซึ่งศัลยแพทย์ผู้ดูแลมักจะเป็นแพทย์หลักที่นัดติดตาม ในช่วง 2 ปีแรกแพทย์จะนัดมาตรวจร่างกายทุกๆ 3 เดือนเพื่อตรวจร่างกายว่ามีโรคกลับมาเป็นซ้ำอีกหรือไม่ และ ทุกๆ 6 เดือนแพทย์จะนัดเพื่อเจาะดูสารก่อมะเร็ง (tumor marker) และทุก 1 ปีจะมีการตรวจติดตามครั้งใหญ่ ตรวจเอกซเรย์ปอด ตรวจการทำงานของตับ ทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ที่เต้านมอีกข้างหนึ่ง หรือถ้าผ่าตัดแบบเก็บเต้านมเอาไว้ก็จะนัดทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ที่เต้านมทั้งสองข้าง หลังจาก 2-3 ปีแรกไปแล้วการนัดพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาก็จะเว้นช่วงห่างขึ้นเป็นนัดตรวจทุก 6 เดือน และหลังจาก 5 ปีไปแล้วแพทย์ก็จะนัดตรวจปีละ 1 ครั้ง เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามดูแลจากแพทย์เป็นประจำ ส่วนการปฏิบัติตัวหลังการรักษาสมบูรณ์แล้วคือ ให้ยาเคมีบำบัด ฉายแสงครบเรียบร้อย ส่วนใหญ่ก็จะใช้ชีวิตได้ตามปกติ ออกกำลังกายได้ การรับประทานอาหารก็ให้ลดการทานไขมันสัตว์ให้ลดลง หลักการเลือกทานก็คืออย่าทานอาหารซ้ำซาก เพื่อลดการสะสมของสารก่อมะเร็งในร่างกาย

    ขอบคุณข้อมูล :
    สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย

Back to posts
Comments:

Post a comment

.




1 | 14 | 41 | 32 | 108975
Thai Story
Thai Gay
Thailand stories
dusex


© 2013 Thai-X.Sextgem.com
Thai Information Center