watch sexy videos at nza-vids!
Blog ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริการ , ด้านการแพทย์,สุขภาพ , การศึกษา , งานเวชระเบียน , สิทธิการรักษา


สุขภาพจิตคนไทยดีขึ้น - ชายสุขมากกว่าหญิง

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลการสำรวจสุขภาพจิตไทยปี 2555 มีสุขภาพจิตดีกว่าปี 2551-2553 แต่ประชากรกรุงเทพยังมีสุขภาพจิตแย่กว่าทุกภาคทั่วประเทศ

นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลการสำรวจสุขภาพจิตคนไทย พบว่า ในปี 2555 คนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป มีคะแนนสุขภาพจิตอยู่ที่ 33.59 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสุขภาพจิตของคนทั่วไป (27.01 - 34 คะแนน) และในจำนวนนี้เป็นผู้มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไปร้อยละ 9.7 และผู้ที่สูงกว่าคนทั่วไปร้อยละ 37.6

เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 - 2553 พบว่า ในช่วง 3 ปี คนไทยมีสุขภาพจิตโดยเฉลี่ยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในช่วงปี 2554 ที่ประเทศไทยได้เกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ทำให้สุขภาพจิตคนไทยในภาพรวมลดลงอย่างเห็นได้ชัด

จากผลการสำรวจในปี 2555 หลังจากที่เหตุการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ คนไทยก็มีสุขภาพจิตดีขึ้นและดีกว่าปี 2551-2553 ซึ่งเป็นปีที่เป็นสภาวะปกติ โดยมีคะแนนสุขภาพจิตสูงกว่า 4 ปีที่ผ่านมา เมื่อพิจารณาสุขภาพจิตของคนไทยตามเพศ พบว่า ในช่วง 5 ปี เพศชายจะมีความสุขมากกว่าเพศหญิง

อายุ

เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มอายุ พบว่า ผู้ที่มีอายุ 40 - 59 ปี เป็นกลุ่มอายุที่มีคะแนนสุขภาพจิตดีที่สุด อาจเป็นเพราะกลุ่มนี้มีอาชีพ และฐานะทางการเงินที่มั่นคงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ สำหรับกลุ่มคนสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่น ถึงแม้คะแนนสุขภาพจิตต่ำสุด แต่สุขภาพจิตของกลุ่มนี้ในรอบ 5 ปีก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาจจะมาจากนโยบายรัฐบาลที่มีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยจัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้คนกลุ่มนี้รู้สึกว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้นและมีความมั่นคงมากขึ้น

ระดับการศึกษา

จากการสำรวจ พบว่า ระดับการศึกษาและสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันทั้ง 5 ปี นั่นคือ ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่ามีความสุขมากกว่าผู้ที่ไม่มีการศึกษา/มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา

การมี/ได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาล

ในภาพรวม พบว่า ผู้ที่มี/ได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาลไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน จะมีสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่ไม่มี/ไม่ได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาล ซึ่งอาจรู้สึกว่าได้รับความคุ้มครอง ปลอดภัย และมีหลักประกันในชีวิตเมื่อยามเจ็บป่วย ทำให้ลดความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา พยาบาลได้ส่วนหนึ่ง

หากพิจารณาเฉพาะผู้ที่มี/ได้รับสวัสดิการรักษา พยาบาล พบว่า ผู้ที่มี/ได้รับสวัสดิการมากกว่า 1 แหล่ง ส่วนใหญ่ มีสุขภาพจิตสูงกว่าผู้ที่มี/ได้รับสวัสดิการเพียงแหล่งเดียว และยังพบว่าคะแนนสุขภาพจิตของกลุ่มแรกจะมีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป (คะแนนสูงกว่า 34) และมีข้อสังเกตว่า ผู้ที่ได้รับสวัสดิการจากราชการ/รัฐวิสาหกิจจะมีสุขภาพจิตสูงสุดและสูงกว่ามาตรฐานคนทั่วไป

เขตการปกครอง

เมื่อเปรียบเทียบสุขภาพจิตของคนไทยในช่วง 5 ปี พบว่า ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ประชากรนอกเขตเทศบาล มีสุขภาพจิตดีกว่าในเขตเทศบาล ยกเว้นปีที่เกิดน้ำท่วม (2554) ซึ่งเท่ากัน

ภาค

เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสุขภาพจิตดีขึ้น ในทุกๆ ปี ยกเว้นปี 2554 ส่วนประชากรในกรุงเทพฯ มีสุขภาพจิตในปี 2551 ดีกว่าภาคอื่นๆ(ยกเว้นภาคใต้) แต่ในปี 2552 กลับมีคะแนนสุขภาพจิตลดลง และค่อยๆ ดีขึ้นอย่างช้าๆ ในปี 2553 - 2555 และกลายเป็นภาคที่มีคะแนนสุขภาพจิตต่ำสุด ซึ่งอาจจะมาจากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอกที่ยากจะควบคุม และพบว่า ภาคใต้ ซึ่งมีสุขภาพจิตดีกว่าภาคอื่นๆ มาตลอด (2551-2554) แต่ในปี 2555 กลับต่ำกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือน

เมื่อพิจารณาจากค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ในปี 2552 2553 และ 2555 พบว่า สุขภาพจิตและค่าใช้จ่ายมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน นั่นคือ ผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าจะมีสุขภาพจิตดีกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าครัวเรือนมีรายได้เพียงพอที่จะนำมาจับจ่ายใช้สอยซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในการยังชีพได้โดยไม่เดือดร้อน

แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า ทุกกลุ่มค่าใช้จ่ายมีคะแนนสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานขึ้นไป กล่าวคือ ผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาท มีสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเท่ากับคนทั่วไป ขณะที่ผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า 30,000 บาท จะมีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป (คะแนนสูงกว่า 34)

ภาระพึ่งพิงในครัวเรือน

ในภาพรวม พบว่า ผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีภาระพึ่งพิงน้อย คือ มีสัดส่วนของคนทำงานมากกว่าคนไม่ทำงาน จะมีสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีภาระพึ่งพิงมาก (มีคนทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับคนไม่ทำงาน หรือไม่มีคนทำงานเลย) แต่มีข้อสังเกตว่า ผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่ไม่มีคนพึ่งพิง คือมีเฉพาะคนทำงาน กลับมีสุขภาพจิตต่ำกว่าผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีภาระพึ่งพิง ซึ่งส่วนหนึ่งพบว่า เป็นผู้ที่อยู่คนเดียว อาจจะมีความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว ไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจเหมือนคนที่อยู่ร่วมกันในครอบครัวและคนที่มีภาระพึ่งพิงอยู่ในครัวเรือน มีครอบครัวเป็นส่วนสำคัญในการอยู่เคียงข้าง ให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาในยามที่ต้องเผชิญกับปัญหา ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลทำให้มีระดับสุขภาพจิตดีกว่าคนที่ไม่มีภาระพึ่งพิงในครัวเรือน

นอกจากนี้ ยังพบว่า คะแนนสุขภาพจิตของทุกกลุ่มในปี 2555 และ 2553 เพิ่มขึ้นจากปี 2552 อย่างเห็นได้ชัด ยกเว้นครัวเรือนที่มีจำนวนคนทำงานน้อยกว่าคนไม่ทำงานมีคะแนนสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การกระจายรายได้ของครัวเรือน

เมื่อพิจารณาความเหลื่อมล้ำด้านค่าใช้จ่าย โดยจัดแบ่งครัวเรือนทั่วประเทศเป็น 5 กลุ่มเท่าๆ กัน โดยเรียงลำดับตามค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อคนต่อเดือนจากน้อยไปมาก (กลุ่มที่ 1 มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด และกลุ่มที่ 5 มีค่าใช้จ่ายสูงสุด) พบว่าในปี 2555 มีกลุ่มที่ 5 เพียงกลุ่มเดียวที่มีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อเดือนลดลงจากปี 2552 และ 2553 ในขณะที่คะแนนสุขภาพจิตก็ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

Back to posts
Comments:

Post a comment

.




1 | 1 | 1 | 36 | 108979
Thai Story
Thai Gay
Thailand stories
dusex


© 2013 Thai-X.Sextgem.com
Thai Information Center