watch sexy videos at nza-vids!
Blog ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริการ , ด้านการแพทย์,สุขภาพ , การศึกษา , งานเวชระเบียน , สิทธิการรักษา


เทคนิคสร้างสมาธิให้ลูกน้อย

คุณแม่คุณพ่อหลายๆคนคงประสบปัญหาในการสอนลูกทั้งการสอนวิชาการรวมไปถึงการสอนให้ลูกทำกิจวัตรประจำวันบางอย่างที่ต้องอาศัยสมาธิ เด็กเล็กๆวัยต่ำกว่า 6 ขวบมักจะมีสมาธิที่สั้นกว่าเด็กโตเป็นปกติอยู่แล้วค่ะ ยิ่งเล็กสมาธิก็ยิ่งน้อย และพอโตขึ้นเรื่อยๆ สมาธิของน้องก็จะเพิ่มขึ้นตามวัยที่โตขึ้น แต่บางครั้งอาการขาดสมาธิหรือสมาธิสั้นของเด็กอาจเกิดจากปัจจัยแวดล้อมหรือผู้เลี้ยงโดยที่ไม่รู้ตัว

1. อาหารการกิน

อาหารที่เด็กกินเข้าไป บางคนอาจคิดว่าไม่น่าจะเกี่ยว แต่แหล่งข้อมูลบางที่จะบอกว่า การกินอาหารรสหวาน หรือขนมที่หวานจัดๆ หรือแม้แต่นมรสหวาน จะทำให้เด็กตื่นตัวมากเกิน และทำให้ไม่มีสมาธิได้ เพราะความหวานให้พลังงานที่มาก ทำให้เด็กมีพลังและอยากออกแรง กระปรี้กระเปร่าเกินไป จริงๆการกินหวานมากเกินไปก็ไม่ดี อาจจะทำให้เด็กติดหวาน กินอาหารยาก เป็นโรคอ้วน และเสี่ยงต่อฟันผุตามมา

2. บรรยากาศในบ้านและการจัดบ้าน

เด็กเล็กๆต่ำกว่าสองถึงสามขวบ ชีวิตของเค้าทั้งหมดอยู่ที่บ้าน เพราะฉะนั้นบ้านสำคัญมาก ถ้าในบ้านมีเสียงดังอึกทึกครึกโครมตลอดเวลา ก็จะทำให้เด็กขาดสมาธิได้ การวางของจัดของในบ้านก็สำคัญ บ้านที่รก ของเล่นมากมายเกะกะวางเกลื่อนไปหมด เด็กก็ไม่รู้ว่าจะเล่นอะไรดี เลยขาดสมาธิที่จะจดจ่อกับสิ่งตรงหน้า เพราะเห็นของเล่นวางล่ออยู่เต็มไปหมด เก็บบ้านให้เป็นระเบียบและมีชั้นวางของเล่นให้เรียบร้อย นอกจากจะช่วยให้บ้านสะอาดดูดี ยังช่วยสร้างสมาธิเด็ก และสร้างนิสัยความมีระเบียบให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กทางอ้อม

จัดห้องเรียนและโต๊ะเรียนช่วยสร้างสมาธิ
การสร้างบรรยากาศที่สำคัญอีกอย่างคือการจัดโต๊ะเรียน ที่บ้านเด็กอนุบาล จะเริ่มมีการบ้านที่จะต้องมานั่งทำที่บ้าน ปัญหาใหญ่ของพ่อแม่ก็คือ ลูกไม่ยอมนั่งทำการบ้าน หรือทำช้ามากกว่าจะเสร็จ รับรองว่าเจอปัญหานี้ทุกบ้าน บางบ้านโชคดีอาจจะเจอแค่บางวัน แต่บางบ้านทะเลาะกันทุกวันเพราะเรื่องนี้ การที่จะให้เด็กนั่งทำการบ้านได้นานๆ ที่บ้านควรมีโต๊ะเขียนหนังสือที่นั่งสบายให้เด็ก โต๊ะควรจัดหันหน้าเด็กนั่งเข้าหากำแพง เพื่อให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น เวลาทำการบ้านสิ่งแวดล้อมต้องเงียบที่สุด จะช่วยให้เด็กจดจ่อกับงานที่ทำได้นาน

3. เปิดทีวีเลี้ยงลูก บั่นทอนสมาธิมากที่สุด

ทีวีมีประโยชน์ ถ้าเป็นรายการดีๆและเด็กโตพอที่จะเรียนรู้จากทีวีรายการต่างๆเหล่านั้นได้ แต่ถ้าเปิดทีวีให้ผู้ใหญ่ดู แล้วเด็กก็อยู่ด้วยตลอด เสียงจากทีวีจะรบกวนโสตประสาทเด็กได้ เด็กๆมักจะหูไว ถึงจะฟังไม่รู้เรื่องแต่ก็ฟัง และยิ่งถ้าลูกมองทีวีไปด้วย ยิ่งบั่นทอนสมาธิมากขึ้น เพราะทีวีรายการต่างๆไม่ว่าจะข่าว โฆษณา ละคร การ์ตูน หน้าจอเคลื่อนไหวเร็ว มีภาพและเสียงที่ดังดึงดูดเด็ก เด็กจะนั่งจ้องนิ่งตลอด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กมีสมาธินะคะ เด็กทุกคนเจอหน้าจอแบบนี้จะนิ่งทุกคน แต่มันเป็นการบั่นทอนสมาธิ เพราะพอหลุดจากหน้าจอแล้ว เค้าจะสร้างสมาธิเองได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าเด็กโตหน่อย สัก 2-3ขวบ เราอาจจะเลือกสิ่งที่จะให้ลูกดูได้ เช่น DVD สอนภาษาที่มีประโยชน์ หรือเล่น Appในแท็บเล็ตต่างๆ แต่การเลือกต้องพิจารณาอย่างดีมากๆเพราะบางเรื่องก็ไม่เหมาะกับเด็กเล็กแต่มีวางขายเกลื่อนทั่วไป และเวลาก็ต้องคุมค่ะ ดูมากไปจะเสียสายตาด้วย ไม่ควรดูเกินวันละครึ่งชม. สำหรับวัย 3 ขวบ

4. เดินห้างบ่อยๆ บั่นทอนสมาธิ

ห้างสรรพสินค้ามีทั้งแสง สี เสียง ของที่วางไว้ล่อตาล่อใจเด็กๆมากมาย ถ้าลูกเรามีลักษณะที่ไม่ค่อยมีสมาธิ ควรเลี่ยงสถานที่ประเภทนี้ สังเกตว่าถ้าพาลูกเดินห้าง เค้าจะตื่นตัว วิ่งไปทั่ว วิ่งไม่หยุด แสดงว่าเค้าถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าพวกนี้และมีอาการไม่มีสมาธิแล้ว ทางที่ดีควรเลี่ยงหรือไปให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ถ้าอยากพาลูกเที่ยวก็เน้นไปแนวธรรมชาติ ภูเขา ทะเล สวนสัตว์ แนวๆนี้น่าจะดีกว่า

5. ออกกำลังกาย ยาสร้างสมาธิที่ดีที่สุด

ลองสังเกตตัวเอง หลังจากที่เราได้ออกกำลังกายมา เราจะรู้สึกสบาย นิ่งขึ้น เพราะการออกกำลังกาย ร่างกายจะปล่อยสารต่างๆและฮอโมนต่างๆที่เป็นประโยชน์กับตัวเราออกมา สารตัวนึงที่ร่างกายปล่อยออกมาหลังจากออกกำลังกาย จะช่วยให้เรามีสมาธิมากขึ้น ในเด็กก็เช่นกัน สังเกตว่าถ้าวันไหนเราพาลูกไปวิ่งเล่น ออกกำลังกายเยอะๆ กลับมา ลูกจะนิ่ง อาจเพราะเหนื่อยด้วย แต่เค้าจะไม่ซุกซนและวิ่งพล่าน และถ้าเราสอนอะไรเค้าจะรับได้มากขึ้น จากสมาธิที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

เล่นกีฬาทุกประเภทสร้างสมาธิได้จริงหรือ?
ไม่ทุกประเภท ตรงนี้ต้องระวังและหาข้อมูลดีๆก่อนที่จะให้ลูกเล่นกีฬาอะไร เพราะกีฬาบางประเภทเป็นแนวปะทะ จะไม่ช่วยสร้างสมาธิ เช่น ฟุตบอล เทควันโด เป็นกีฬาแนวปะทะ ส่วนกีฬาที่ช่วยเสริมสร้างสมาธิ เช่น ว่ายน้ำ, ขี่ม้า เพราะเป็นกีฬาที่เป็นแนวออกกำลังกาย ไม่ได้ต่อสู้ แข่ง หรือปะทะกับใครมากนัก การขี่ม้าเป็นการฝึกสมาธิที่ดีให้เด็กๆ เพราะการที่เด็กจะบังคับตัวเองให้ทรงตัวอยู่บนหลังม้าได้จะต้องใช้สมาธิมาก

6. กล้ามเนื้อที่แข็งแรง เสริมสร้างสมาธิที่ดี

คงสงสัยว่ากล้ามเนื้อเกี่ยวกับสมาธิยังไง เรื่องนี้ได้ข้อมูลจากหลักการของ Sensory Integration (SI) การที่เด็กมีกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ในด้านของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (แขน ขา) มีผลต่อเด็กในกรณีที่เด็กต้องนั่งบนบนเก้าอี้เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งนานๆ เช่น เขียนหนังสือ อ่านหนังสือ วาดรูป การที่ต้องนั่งนานๆ เด็กต้องใช้แรงในการฝืนตัวเองอยู่บนเก้าอี้ให้ได้ ซึ่งการต้องฝืนตัวเองนี้ถ้ากล้ามเนื้อไม่แข็งแรง เด็กจะเมื่อยมากๆ ถ้าเด็กมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงทุกส่วน เค้าจะทรงตัวนั่งได้นานขึ้น การทำกิจกรรมหรือเรียนหนังสือก็จะต่อเนื่อง และส่งผลให้สมาธิดีขึ้นด้วย เพราะไม่มีความเมื่อยมารบกวนจิตใจเค้า

การฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (แขนขา)
ทำได้โดยการออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น วิ่งเล่น ขี่จักรยาน แต่ถ้าหน้าฝนแบบนี้ หรือแดดแรงๆในเมืองไทยบ้านเรา การออกกำลังกลางแจ้งบางทีก็ไม่สะดวก วิธีฝึกกล้ามเนื้อง่ายๆเล่นในบ้านได้ก็มีเช่น การเดินหมี ลองนึกถึงหมีเวลาเดิน คือให้เด็กวางมือบนพื้น และวางขาบนพื้น ยกตัวขึ้นขนานกับพื้น แล้วเดิน เป็นท่าที่ฝึกกล้ามเนื้อได้ดีทุกส่วน เดินอย่างเดียวอาจไม่สนุก อาจให้เดินแล้วเล่นเกมส์ไปด้วย เช่น เดินไปหยิบ puzzle มาต่อทีละชิ้น เด็กจะสนุกมากขึ้น

การฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก(นิ้วมือ)
กล้ามเนื้อมัดเล็กสำคัญมาก ในการจับดินสอเขียนหนังสือ เด็กที่กล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรง สังเกตได้จากเค้าจะจับดินสอได้แน่น และมีแรงกดในการเขียนหนังสือ ตัวหนังสือสวย และนั่งเขียนได้นาน วิธีการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรง ในเด็กเล็กหน่อย 1-2 ขวบ เช่น การปั้นแป้งโดว์ ปั้นดินน้ำมัน ร้อยลูกปัดใหญ่ ต่อเลโก้ชิ้นใหญ่ ถ้าเด็กโตหน่อย ก็ให้ต่อเลโก้ชิ้นเล็กลงเรื่อยๆตามวัย

7. อ่านหนังสือ ช่วยสร้างสมาธิและจินตนาการ

การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ได้ประโยชน์มากมายหลายอย่าง ทั้งลูกจะได้ภาษา พูดเก่ง ได้จินตนาการตามเรื่องราวในหนังสือ สร้างสมาธิให้จดจ่อกับหนังสือข้างหน้าตัวเอง และที่สำคัญได้ความอบอุ่นจากพ่อแม่มากมาย หาเวลาอ่านหนังสือให้ลูกฟัง อย่างน้อยวันละเล่มก็ยังดี อ่านเมื่อไหร่ก็ได้ที่เราและลูกพร้อม แม่ต้องสร้างอารมณ์สนุกสนาน ใส่เสียงที่สนุก ลูกจะสนุกและนั่งฟังได้จนจบเล่ม สำหรับเด็กเล็ก อ่านไปทำท่าประกอบไป เด็กจะสนุก สำหรับเด็กโต อ่านแล้วโยงกับชีวิตจริงของเค้า ยกตัวอย่างประกอบไปด้วย หรือถามคำถามไปด้วย จะช่วยกระตุ้นเซลสมองให้เค้าคิดและจินตนาการตามไปด้วย

8. วาดรูปเสริมสร้างสมาธิ

ปล่อยให้เด็กได้วาดเขียน ลากเส้น วาดรูป อิสระ ตามใจเค้า จะทำให้เค้านิ่ง อยู่กับตัวเอง ปล่อยความคิดและจินตนาการของตัวเอง เป็นการเสริมสมาธิไปในตัว อย่าไปบังคับกะเกณฑ์ว่าต้องวาดตามแบบหรือวาดให้สวย ปล่อยเค้าเท่าที่จะทำได้ เพราะโตขึ้นเข้าโรงเรียน เค้าต้องโดนบังคับให้วาดอีกเยอะ เล็กๆเราปล่อยไปก่อน

ส่วนวิธีวาดรูปฝึกสมาธิ ให้ลูกวาดเส้นตามขอบของกระดาษ ชิดขอบของกระดาษแล้ววนไปเรื่อยๆ จะเป็นการฝึกให้มีสมาธิมากขึ้น

9. ฟังนิทาน สร้างสมาธิและจินตนาการ

อ่านหนังสือ คือ มีหนังสือตรงหน้าเด็กให้เค้ามองภาพตามได้ แต่การฟังนิทาน คือ การฟังอย่างเดียว ไม่มีหนังสือประกอบ วิธีที่เราใช้คือ เปิดนิทานใน CD ให้ลูกฟังในรถ อาจจะใช้เวลาตอนนั่งรถไปโรงเรียนก็ได้ เลือกนิทานที่เหมาะกับวัยเด็ก เริ่มต้นควรเป็นนิทานที่ฟังง่ายๆก่อน บทบาทไม่ซับซ้อน ถ้ามีเพลงประกอบจะดึงความสนใจเด็กได้มากขึ้น ระหว่างฟังนิทานเด็กจะนิ่งและใช้จินตนาการวาดภาพในสมองตามไปด้วย จะทำให้เค้าเป็นเด็กช่างคิด ช่างถาม จะมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย พ่อแม่ต้องตอบคำถามลูก อย่าปล่อยให้เค้าถามเก้อ เค้าจะไม่อยากถามหรืออยากคิดอีก วิธีตอบคำถามที่เราใช้บ่อยคือ การถามกลับ เช่น แล้วลูกคิดว่ายังไง ส่วนใหญ่เด็กจะตอบกลับมาได้ บางครั้งเราใช้การตอบคำถามของเราสอดแทรกคำสอนของเราเข้าไปได้ เพราะบางทีอยู่เรามานั่งสอนลูกเค้าจะไม่ฟัง แต่ถ้าเค้าถาม เค้าจะตั้งใจฟังคำตอบ จังหวะนี้เราสามารถแอบใส่สิ่งที่เราอยากสอนอยากบอกเข้าไป

10. จังหวะ วินัยและตารางเวลา

การสอนลูกให้ได้ผลดีต้องดูจังหวะด้วย ถ้าเด็กอยู่ในช่วง หิวและง่วง เค้าจะเบื่อ งอแง ไม่อดทน สมาธิจะไม่มีแน่นอน ไม่ว่าพ่อแม่จะตั้งใจสอนอะไรแค่ไหน เด็กก็จะไม่รับ เพราะฉะนั้น ให้เด็กกินอิ่ม นอนหลับให้เพียงพอ ให้เค้าพร้อมที่จะเรียนรู้ จะทำให้เค้าสนใจและตั้งใจรับสิ่งที่เราสอนได้มากขึ้น และควรดูอารมณ์ของลูกด้วย ผู้ใหญ่เรายังมีช่วงอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด ไม่อยากทำอะไร เด็กก็เหมือนกัน บางวันเค้าก็หงุดหงิดบ้าง อาจเพราะอากาศร้อน อบอ้าว หรืออะไรก็ตามแต่ เราก็ดูจังหวะ ถ้าสอนเค้าแล้วเค้าไม่รับ ก็ต้องถอยทัพกันก่อน เมื่อเด็กพร้อมค่อยว่ากัน

สิ่งที่จะช่วยให้การสอนลูกเป็นเรื่องง่ายขึ้น คือวินัยและตารางเวลา วินัย คือ การทำอะไรเป็นกิจวัตรอย่างสม่ำเสมอ เทคนิคคือ ถ้าเราอยากสอนการบ้านลูกหรือให้ลูกดูบัตรคำทุกวัน โดยที่ลูกไม่อิดออด เราก็ทำทุกวันให้เป็นวินัย เช่น ช่วงเช้า ลูกนอนเต็มอิ่ม ตื่นมาทานนมหรือข้าวแล้ว ก็สอนกันเวลานี้ทุกวัน บางวันลูกอาจไม่รับ ก็สอนน้อยหน่อย แล้วก็ค่อยๆยืดเวลาเท่าที่เด็กจะรับได้ พยายามทำสม่ำเสมอทุกวัน เด็กจะชินและเรียนรู้ว่าเวลานี้คือเวลาเรียนหรือทำกิจกรรมนี้กับแม่ วิธีนี้ได้ผลมาก เมื่อเด็กสามารถนั่งเรียนกับพ่อแม่ได้ทุกวัน แค่วันละนิดหน่อย ก็จะช่วยให้เค้ามีสมาธิมากขึ้นทุกวัน

TIPS : สูตร 45 วัน
ถ้าให้เด็กทำอะไรซ้ำๆทุกวันต่อเนื่อง ห้ามหยุด เป็นเวลา 45 วันต่อเนื่อง เด็กจะติดเป็นนิสัยไปเอง เช่น แปรงฟัน ดื่มนมกล่อง นั่งทำการบ้าน ฯลฯ

ขอบคุณข้อมูล : ชมรมครูพ่อแม่

Back to posts
Comments:

Post a comment

.




1 | 3 | 3 | 38 | 108981
Thai Story
Thai Gay
Thailand stories
dusex


© 2013 Thai-X.Sextgem.com
Thai Information Center