watch sexy videos at nza-vids!
Blog ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริการ , ด้านการแพทย์,สุขภาพ , การศึกษา , งานเวชระเบียน , สิทธิการรักษา


โรคตาในผู้สูงอายุ

วันเวลาที่ผ่านล่วงเลยไป จากวัยเด็ก สู่วัยผู้ใหญ่ และผ่านเข้าสู่วัยสูงอายุ ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญที่ต้องได้รับการดูแล เพื่อให้สามารถมองโลกที่สดใสได้ตลอดไป การเปลี่ยนแปลงหรือความเสื่อมอาจเกิดขึ้นกับส่วนต่างๆของตา ทำให้เกิดโรคทางตาในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้จักเพื่อรักษาสุขภาพตาของผู้สูงอายุให้อยู่ได้นานที่สุด ดังนี้

1.โรคต้อกระจก (cataract)
เป็นโรคตาที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ เกิดจากการขุ่นของเลนส์แก้วตา ผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปีพบได้ถึง 70%

อาการ
ไม่มีอาการปวดตา , ภาพมัวมืด , เวลามองแสงจ้าจะเกิดแสงสะท้อน เช่น มองไฟหน้ารถที่ขับสวน , ภาพบิดเบี้ยว , มองเห็นในระยะใกล้ชัดขึ้น , การมองเห็นในที่มืดแย่ลง

สาเหตุสำคัญ
เกิดจากความเสื่อมตามอายุ สาเหตุอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บที่ตา โรคเบาหวาน สาเหตุที่มักเข้าใจผิด และไม่ได้ทำให้เกิดต้อกระจก ได้แก่ โรคมะเร็ง การใช้สายตามาก

การรักษา
โดยการผ่าตัดหรือสลายเลนส์ตาที่ขุ่นออกเป็นการรักษาที่ทำให้หายขาดได้ โดยจะผ่าเมื่อเมื่อบดบังการมองเห็นมาก จนมีผลกระทบต่อการใช้งาน เช่น การขับรถ การอ่านหนังสือ

2.โรคต้อหิน (glaucoma)
เกิดจากการระบายน้ำในลูกตาผิดปกติ ทำให้ความดันตาสูง และกดทำลายเส้นประสาทตาได้ พบได้ถึง 2% ในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยช่วงแรกของโรคมักไม่มีอาการ ไม่ปวด ดังนั้นการรีบวินิจฉัยและรักษาจะสามารถช่วยไม่ให้เกิดการตาบอดได้

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคต้อหิน ควรได้รับการตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง
- อายุ 40 ปีขึ้นไป
- มีคนในครอบครัวเป็นต้อหิน
- ความดันในลูกตาสูง
- เชื้อสายแอฟริกัน หรือฮิสแปนิก
- โรคเบาหวาน ใช้ยาสเตียรอยด์ มีการบาดเจ็บที่ตาในอดีต โรคซีดหรือขาดเลือด ภาวะช๊อก

อาการของโรคต้อหิน
โดยทั่วไปมักไม่มีอาการในช่วงแรกของโรค โดยต่อมาจะสูญเสียการมองเห็นจากทางด้านนอก และตาบอดในที่สุด ซึ่งอาจมีต้อหินบางประเภท เช่นต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ที่อาจมีอาการปวดมาก คลื่นไส้ เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ ตาแดง ภาพมัวและมองไม่เห็นในที่สุด ซึ่งเป็นอาการเร่งด่วนต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว

การรักษา
ไม่มีการรักษาที่สามารถทำให้การมองเห็นกลับคืนมาเท่าคนปกติ แต่สามารถชะลอไม่ให้โรคแย่ลงได้

ในปัจจุบัน โรคต้อหินส่วนใหญ่สามารถรักษาด้วยยา ลดความดันตาเพื่อป้องกันการทำลายเส้นประสาทตา โดยผู้ป่วยจะต้องมารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

3.โรคสายตายาวในผู้สูงอายุ (presbyopia)
มักเกิดหลังอายุ 40ปี เกิดจากเลนส์ตาที่แข็งขึ้น สูญเสียความสามารถในการปรับการมองใกล้ และไกลดังนั้นผู้ป่วยมักต้องถือหนังสือไกลขึ้นจึงจะอ่านได้ชัด โดยอาการจะเกิดขึ้นกับทุกคน ทั้งสายตาสั้น ยาว และปกติ โดยพบว่าผู้ที่มีสายตายาวอาจเกิดอาการเร็วกว่าปกติ วิธีรักษา ปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตัดแว่น ตาสำหรับอ่านหนังสือ

4.โรคตาแห้ง (dry eye)
มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เริ่มเมื่อวัยกลางคน สัมพันธ์กับภาวะเปลือกตาอักเสบ และโรคทางกายบางชนิด เกิดจากการผลิตน้ำตาที่น้อยลง ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองเหมือนมีฝุ่นผงในตา มักเป็นมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่แห้งหรือห้องแอร์ อาจมีขี้ตาเหนียว การมองเห็นไม่ชัดต้องกระพริบตาบ่อยๆ ในผู้ป่วยบางคนอาจเคืองตาแล้วมีน้ำตาไหลมากขึ้นได้ เมื่อมีอาการควรพบจักษุแพทย์

การรักษา
ในระยะเริ่มแรกใช้น้ำตาเทียม เมื่ออาการเป็นมากขึ้นควรปรึกษาจักษุแพทย์ การดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงลม ฝุ่น ถ้าอยู่ในห้องแอร์หรืออากาศแห้งอาจหาแก้วใส่น้ำอุ่นวางไว้เพื่อให้มีความชื้นในอากาศ รักษาโรคเปลือกตาอักเสบ และโรคทางกายอื่นๆ

5.โรคจุดรับภาพเสื่อมในผู้สูงอายุ ( AMD : Age Related Macular Degeneration) เกิดจากการทำลายบริเวณจุดศูนย์กลางของการรับภาพ และสี โดยไม่ทราบสาเหตุการเสื่อมที่แน่นอน

ปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญ คือ
- ผู้สูงอายุ พบว่าอัตราการเกิดโรคในคนอายุ 75 ปี มีถึง 30% เมื่อเทียบกับ 2% ในคนอายุ 50 ปี
- การสูบบุหรี่
- การสัมผัสแสงอาทิตย์และแสง UV ปริมาณมาก
- ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ

อาการของโรค
ได้แก่ ภาพมัว บิดเบี้ยว สีจางลง มีปัญหาในการอ่าน หรือจำหน้าคน เห็นจุดดำอยู่กลางภาพ

การรักษาโรค ไม่มีการรักษาที่หายขาด แต่การรักษาจะช่วยชะลอการเกิดโรคที่มากขึ้น ในระยะแรกอาจให้วิตามิน แต่การดำเนินโรคก็อาจเป็นมากขึ้นได้ โดยในระยะหลัง อาจร่วมกับการรักษาด้วยเลเซอร์ หรือฉีดยาเข้าในลูกตา

การป้องกัน

- ผู้สูงอายุจึงควรตรวจตาเป็นประจำทุกปี และเมื่อมีการมองเห็นภาพที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวควรรีบมาพบจักษุแพทย์

- ผู้ป่วยที่เป็นโรคควรทดสอบการมองเห็นเป็นประจำด้วยแผ่น Amsler grid ทีละตา โดยให้ผู้ป่วยมองจุดดำตรงกลางภาพ ถ้าเห็นเส้นที่อยู่รอบๆจุดนั้น เป็นคลื่น ไม่เป็นเส้นตรง แสดงว่าอาจมีภาวะโรคจุดรับภาพเสื่อม โดยผู้ป่วยอาจทดสอบด้วยตัวเองด้วยการมองสิ่งที่เป็นเส้นตรง เช่นกรอบประตู หน้าต่าง ซึ่งถ้าบิดเบี้ยว ก็ควรรีบมาพบแพทย์

- หยุดสูบบุหรี่
- สวมแว่นตากันแดด
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด
- รับประทานผักผลไม้ อาหารครบ 5 หมู่
- การรับประทานวิตามินเสริม C, E, Zinc, lutein , zeaxanthin ไม่ช่วยปัองกันในผู้ที่ไม่เป็นโรค แต่ช่วยชะลอโรคในผู้ที่เป็นโรคแล้ว

ขอบคุณข้อมูล : ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย

Back to posts
Comments:

Post a comment

.




1 | 15 | 15 | 50 | 108993
Thai Story
Thai Gay
Thailand stories
dusex


© 2013 Thai-X.Sextgem.com
Thai Information Center