watch sexy videos at nza-vids!
Blog ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริการ , ด้านการแพทย์,สุขภาพ , การศึกษา , งานเวชระเบียน , สิทธิการรักษา


โรคที่สามารถเกิดขึ้นกับหู

โรคที่เกี่ยวข้องและสามารถเกิดขึ้นกับหูหูมีอะไรบ้าง มารู้จักไว้เพื่อป้องกัน

หูตึง (หูหนวก) - Deafness

หูตึง (หูหนวก) หมายถึง ภาวะการได้ยินเสียงลดลง อาจเป็นเพียงเล็กน้อย หรือ ไม่ได้ยินเลย (หูหนวกสนิท) มีสาเหตุได้มากมาย เช่น แก้วหูทะล, หูอักเสบ , โรคเมเนียส์, หูหนวกมาแต่กำเนิด (เช่น ทารกที่เป็นหัดเยอรมันโดยกำเนิด) ซึ่งมักจะมีอาการเป็นใบ้ร่วมด้วย, พิษจากยา ( สเตรปโตไมซิน, คาน่าไมซิน เจนตาไมซิน), หูตึงในคนสูงอายุ, หูตึงจากอาชีพ เป็นต้น

หูตึงในคนสูงอายุ

พบได้ในคนสูงอายุ ผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่า และมีความรุนแรงกว่าผู้หญิง โดยมากจะเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป เกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัย

หูตึงจากอาชีพ

ผู้ที่ทำงานอยู่ในที่ที่มีเสียงดังขนาดมากกว่า 90 เดซิเบล ขึ้นไปเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความถี่สูง ๆ (เสียงสูง) มักเกิดอาการหูตึงได้ เนื่องจากเซลล์ประสาทหูถูกคลื่นเสียงทำลายอย่างถาวร และไม่มีทางแก้ไขให้กลับคืนดีได้ ผู้ป่วยมักจะเริ่มจากการได้ยินเสียงสูง (เช่น เสียงกระดิ่ง) สู้เสียงต่ำ (เช่น เสียงเคาะประตู) ไม่ได้ ถ้ายังคงทำงานอยู่ในที่ที่เสียงดังเช่นเดิม อาการหูตึง
จะค่อยๆ เป็นมากขึ้นจนถึงขั้นหูหนวกได้ในรายที่มีอาการหูตึงอย่างถาวร อาจต้องใช้เครื่องช่วยฟัง

การรักษา
ไม่มียาที่ใช้รักษาให้การได้ยินดีขึ้น ถ้าจำเป็นอาจใช้เครื่องช่วยฟัง

การป้องกัน
ผู้ที่มีอาชีพที่เสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว ควรหาทางป้องกัน โดยการสวมเครื่องป้องกันหูขณะที่อยู่ในที่ทำงาน และควรไปโรงพยาบาล เพื่อทำการทดสอบการได้ยินเป็นประจำ ถ้าหากเริ่มมีอาการหูตึงเกิดขึ้น ควรหยุดงานในสถานที่เดิม และควรเปลี่ยนไปทำงานในสถานที่ที่ไม่มีเสียงดังรบกวน

ข้อแนะนำ
การทำงานในที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน ๆ อาจหูตึงอย่างถาวรได้

เยื่อแก้วหูทะลุ - Ruptured Eardrum

เยื่อแก้วหูทะลุ อาจเกิดจากการอักเสบ เช่น หูชั้นกลางอักเสบ หรือเกิดจากการบาดเจ็บก็ได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงสาเหตุข้อหลัง

สาเหตุ
แก้วหูทะลุที่เกิดจากการบาดเจ็บ อาจมีสาเหตุ เช่น ถูกไม้แคะหูแทงทะลุ หรือกระทบกระเทือนจากการถูกตี ถูกแรงกระแทก หรือถูกเสียงดัง ๆ (เช่น เล่นพุ ประทัด เสียงระเบิด) เป็นต้น

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการหูอื้อ หูตึง ซึ่งเกิดขึ้นทันทีภายหลังได้รับบาดเจ็บ บางคนอาจมีอาการปวดในรูหู หรือมีเลือดไหลออกจากหู

สิ่งตรวจพบ
เมื่อใช้เครื่องส่องหูตรวจดู จะพบเยื่อแก้วหูมีรูทะลุ

อาการแทรกซ้อน
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้เกิดการอักเสบ กลายเป็นโรคหูน้ำหนวก ได้

การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจให้การรักษาเบื้องต้นด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี , อะม็อกซีซิลลิน หรืออีริโทรไมซิน กินป้องกันการติดเชื้อ

การรักษา ถ้าเยื่อแก้วหูทะลุเป็นรูกว้าง อาจต้องผ่าตัดทำเยื่อแก้วหูเทียม (tympanoplasty) ถ้าทะลุเป็นรูเล็กอาจปิดได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ กินป้องกันการติดเชื้อ และควรแนะนำผู้ป่วยห้ามดำน้ำ หรือลงเล่นน้ำในสระหรือแม่น้ำลำคลอง และระวังอย่าให้น้ำเข้าหูเวลาอาบน้ำ โดยทั่วไป ถ้าเยื่อแก้วหูปิดได้ ก็มักจะหายขาด และไม่มีภาวะแทรกซ้อนตามมาแต่อย่างใด

รายละเอียด
คนที่เยื่อแก้วหูทะลุ ห้ามดำน้ำหรือว่ายน้ำในแม่น้ำลำคลอง

โรคเมเนียส์ - Meniere's Disease

เกิดจากมีการเพิ่มความดันของของเหลวในหูชั้นในส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัว (ลาบิรินท์) ทำให้เซลล์ประสาทในส่วนนั้นถูกทำลาย เป็นเหตุให้เสียความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว นอกจากนี้ เซลล์ประสาทส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินในบริเวณใกล้เคียงก็ถูกทำลายด้วย เป็นเหตุให้มีอาการหูตึงร่วมด้วย ส่วนมากเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ บางคนอาจเกิดหลังได้รับบาดเจ็บ หรือเป็นซิฟิลิส ส่วนมากจะเป็นเพียงข้างเดียว ประมาณ 10-15% อาจเป็นทั้งสองข้าง โรคนี้พบได้น้อย มักพบในผู้ชายอายุ 40-60 ปี แต่ก็อาจพบในคนหนุ่มคนสาวได้

สาเหตุ
มักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ด้วยอาการวิงเวียนอย่างรุนแรง จนบางครั้งทำให้ผู้ป่วยล้มลง ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าพื้นบ้าน หรือเพดานหมุน มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง และอาจมีอาการตากระตุก อาการวิงเวียนอาจเป็นนาน ครั้งละไม่กี่นาทีถึงหลายชั่งโมง แล้วหายไปได้เอง แต่จะกำเริบได้เป็นครั้งคราว อาจทิ้งช่วงห่างกันเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นปี ๆ ซึ่งไม่ค่อยแน่นอน

ผู้ป่วยมักมีอาการหูตึงและแว่วเสียงดังในหู ซึ่งเป็นพร้อมกับอาการวิงเวียน และจะยังคงเป็นอยู่ตลอดเวลา ระหว่างที่ไม่มีอาการวิงเวียน เสียงที่ไม่ได้ยินมักเป็นเสียงต่ำ เช่น เสียงนาฬิกา เสียงกริ่งโทรศัพท์ เป็นต้น

อาการวิงเวียนมักจะเป็นมากเวลาเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือความวิตกกังวล แต่จะเป็นห่างขึ้นเมื่อสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี และจิตใจไม่เครียด

อาการแทรก
ส่วนมากจะเป็นไม่รุนแรง และอาจหายได้เอง ส่วนน้อยอาจหูตึงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนหูหนวกสนิท อาจเป็นเพียงข้างเดียว หรือสองข้าง ซึ่งไม่มีทางรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจเป็นคนชอบวิตกกังวล และเป็นไมเกรนร่วมด้วย (อาการวิงเวียนมักหายไปภายหลังที่หูหนวกสนิท)

ผู้ป่วยอาจประสบอุบัติเหตุ ขณะที่เกิดอาการวิงเวียนรุนแรง

การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องใช้เครื่องมือตรวจการได้ยินอาจเอกซเรย์ ตรวจเลือดหาวีดีอาร์แอล หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ
การรักษา ถ้ามีอาการวิงเวียนมาก ควรฉีดไดเฟนไฮดรามีน หรือ ไดเมนไฮดริเนต หรือ อะโทรพีน ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้นอกจากนี้ อาจให้กินยาแก้อาเจียน เช่น ไดเมนไฮดริเนต 1-2 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง , ยาขับปัสสาวะ 1 เม็ด วันละครั้ง ถ้ามีความวิตกกังวล ให้ไดอะซีแพม

ถ้าตรวจพบว่าเกิดจากซิฟิลิส ให้การรักษาแบบซิฟิลิส ถ้าหากใช้ยาไม่ได้ผลในรายที่หูตึงไม่มาก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลาม หรือช่วยให้หายขาดได้

ข้อแนะนำ
ผู้ป่วยควรงดอาหารเค็มจัด และดื่มน้ำให้น้อยลง เพื่อลดปริมาณของของเหลวในหูชั้นใน อาจช่วยให้เกิดอาการห่างขึ้นควรงดกาแฟ และบุหรี่ และปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่เป็นหูชั้นในอักเสบ

รายละเอียด
ถ้ามีอาการวิงเวียนร่วมกับหูตึง หรือแว่วเสียงดังในหู ควรปรึกษาแพทย์

Back to posts
Comments:

Post a comment

.




1 | 19 | 19 | 54 | 108997
Thai Story
Thai Gay
Thailand stories
dusex


© 2013 Thai-X.Sextgem.com
Thai Information Center